การสร้างธุรกิจในตลาดดิจิตอล

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และหน่วยงานจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ มทร.พระนคร ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมในการสร้างและการเป็นผู้ประกอบการ ระยะที่ 3 ในงานมีการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การสร้างธุรกิจในตลาดดิจิตอล” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธีรศานต์ สหัสสพาศน์ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และคุณฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาด บริษัท บางกอก ซีเลคชั่น ฟู้ดส์ จำกัด และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมี ผศ.พัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ซึ่งมีผู้บริหาร คณาจารย์สาขาวิชาการจัดการและสาขาวิชาการตลาด ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟัง และนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 300 คน ณ ห้องประชุมอาภากรเกียรติวงศ์ อาคาร 90 ปี (ชั้น 6) และกิจกรรมออกร้านของผู้ประกอบการ และ ชมรม Food truck Society กว่า 20 ร้านค้า จำหน่ายอาหาร ขนมหวาน เครื่องดื่ม อาทิ ซูชิ ชีสบอล สลัดบุรี สตอเบอรี่โยเกิร์ต วุ้นบ้านโอม ลูกชุบ น้ำสมุนไพร ฯลฯ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจ เยี่ยมชมและอุดหนุนสินค้า โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมอุดหนุนสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการสร้างธุรกิจในตลาดดิจิตอล และเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงของผู้ประกอบการในการทำธุรกิจร้านค้า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาจะได้ลงมือคิดวิเคราะห์ วางแผนบริหารจัดการ การวางกลยุทธ์-เทคนิคการตลาด โดยสามารถนำแนวทางไปปรับใช้ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย ในการจัดโครงการครั้งนี้เป็นการบูรณาการเรียนการสอนในวิชาบริหารโครงการ (จัดการเรียนการสอนโดย อาจารย์ศรีนาย คุเณนทราศรัย) และ ศูนย์การจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ

 

Gen Y พันธุ์ซ่า กล้าท้าธุรกิจ

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00-12.00 น. สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการตลาด และหน่วยงานจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมในการสร้างและการเป็นผู้ประกอบการ ระยะที่ 1 : Gen Y พันธุ์ซ่า กล้าท้าธุรกิจ” โดยมี ผ.ศ.พัชรินทร์พร ภู่อภิสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งคณะผู้จัดโครงการได้เชิญ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต และ ดีเจพล่ากุ้ง มาเป็นวิทยากรบรรยาย มีนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ณ ห้องประชุมอาภากรเกียรติวงศ์ อาคาร 90 ปี (ชั้น 6) คณะบริหารธุรกิจ โดยการจัดโครงการครั้งนี้เป็นการบูรณาการเรียนการสอนในวิชาบริหารโครงการ (จัดการเรียนการสอนโดย อาจารย์ศรีนาย คุเณนทราศรัย) และ ศูนย์การจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจฯ

 

Download แนวปฏิบัติที่ดี

การประชุมคณะกรรมการKM ครั้งที่ 1/2559

การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำยุทธศาสตร์และบริหารจัดการความรูในองค์กร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ครั้งที่ 1/2559
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ณ หองประชุมรพีพัฒน์ ชั้น 3 อาคารสํานักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

The Tutorial System at Harvard University

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 หน่วยงานจัดการความรู้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “The Tutorial System at Harvard University” โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์นนท์ อัครประเสริฐกุล อาจารย์ผู้ช่วยสอนและ Ph.D. Candidate จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในโอกาสบรรยายพิเศษเกี่ยวกับประสบการณ์การวิจัยและการพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้กับคณะผู้บริหารและคณาจารย์ของคณะบริหารธุรกิจที่สนใจเข้าร่วม ณ ห้องประชุมมงคลอาภา 2 (ห้องประชุมสัญจร) อาคารมงคลอาภา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง เตรียมความพร้อมในการจัดหลักสูตร การจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์

1. เป้าหมายของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คืออะไร
เพื่อเปิดโอกาสได้พัฒนาวิชาการเฉพาะทางจะสามารถเป็นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ และนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาสาขาการจัดการแขนงโลจิสติกส์

2. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร
ได้ความรู้ทางด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ รวม 6 วิชา

3. สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร
ไม่มี

4. สิ่งที่เกินความคาดหวังคืออะไร
ไม่มี

5. คิดจะกลับไปทำอะไรต่อ
นำความรู้มาใช้ในการพัฒนางานวิชาการในรูปของตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการด้านโลจิสติกส์

กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (COP) กลุ่มชุมชนคนวิจัย เรื่อง การตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ

  1. เป้าหมายของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คืออะไร

          เพื่อตีพิมพ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริหารหารธุรกิจ และ/หรือทางด้านสังคมศาสตร์ ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง

  1. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

          การที่ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทราบเทคนิคในการวางแผน กำหนดหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการทำวิจัย/ออกแบบ ใช้เวลาเพื่อสร้างงาน การลงมือเก็บข้อมูล พร้อมเขียนรายงานการวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษควบคู่ไป การตรวจสอบหาวารสารที่จะลงตีพิมพ์ ดูระยะเวลาในการ Review ตรวจสอบคุณภาพวารสาร รวมถึงเทคนิคในการปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้น โดยตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งทุกครั้ง

  1. สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

        ไม่มี

  1. สิ่งที่เกินความคาดหวังคืออะไร

        ไม่มี

  1. คิดจะกลับไปทำอะไรต่อ

การวางแผนในการทำวิจัย/การวางแผนในการหาที่ลงตีพิมพ์ ฝึกความสามารถในการเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ/ทักษะการเขียน+ภาษา พร้อมทั้งทำความเข้าใจในกระบวนการของการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เพื่อให้นักวิจัยในคณะสามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ได้

 

กิจกรรมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนโครงร่างวิจัยเบื้องต้นในการทำงานวิจัย

  1. เป้าหมายของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คืออะไร

        เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานในการเขียนโครงร่างวิจัยเบื้องต้นสำหรับการทำงานวิจัย ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

          ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนโครงร่างวิจัยเบื้องต้นในการทำงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดชื่อเรื่อง ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย คำถามของการวิจัย ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สมมติฐาน และกรอบแนวความคิดในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ระยะเวลาในการดำเนินงาน งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย ฯลฯ

  1. สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

        ไม่มี

  1. สิ่งที่เกินความคาดหวังคืออะไร

ผู้เข้าอบรมให้ความร่วมมือและมีความกระตือรือล้นในการนำเสนอโครงร่างวิจัยเบื้องต้นในการทำงานวิจัย ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดงานวิจัยและสามารถเขียนของบประมาณได้

  1. คิดจะกลับไปทำอะไรต่อ

ส่งเสริมให้มีนักวิจัยหน้าใหม่เพิ่มขึ้น จากการที่ผู้เข้าอบรมได้นำความรู้ ความเข้าใจ ในการอบรมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์สู่การลงมือปฏิบัติจริงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การถอดบทเรียนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ : วิธีการเรียบเรียงรายงานการวิจัย

  1. เป้าหมายของการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้คืออะไร

        เพื่อให้นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียบเรียงรายงานการวิจัยหลังสิ้นสุดงานวิจัย ซึ่งทำให้ทราบรูปแบบและแนวทางการเขียนรายงานการวิจัย ทำให้นักวิจัยได้รู้ถึงขั้นตอนในการเรียบเรียงเขียนรายงานการวิจัยอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์กับงานวิจัยการเขียนบทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ : วิธีการเขียนงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รวมถึงการเขียนบทความวิชาการ (ที่ไม่ได้มาจากงานวิจัย)

  1. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

        นักวิจัยสามารถเขียนรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง และสามารถเขียนงานวิจัยได้ครบทุกกระบวนการ รวมถึงนักวิจัยสามารถเข้าใจและมีทักษะในการรับรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการเขียนรายงานการวิจัย

  1. สิ่งที่ไม่บรรลุเป้าหมายคืออะไร เพราะอะไร

ไม่มี

  1. สิ่งที่เกินความคาดหวังคืออะไร

        ผู้เข้าอบรมมีการซักถามกันอย่างสนุกสนาน ทำให้การอบรมเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง และทุกคนกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง และสามารถเสนอแนะหัวข้องานวิจัยได้

  1. คิดจะกลับไปทำอะไรต่อ

            นำความรู้ ความเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติเขียนงานวิจัยได้ครบทุกกระบวนการ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียบเรียงรายงานการวิจัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เอกสารประกอบ