คณะบริหารธุรกิจ

คณะบริหารธุรกิจ มทร.พระนคร

ประวัติคณะบริหารธุรกิจ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ตั้งอยู่ ณ ศูนย์พณิชยการพระนคร อันเป็นสถาบันการศึกษาด้านพณิชยการที่เก่าแก่มีอายุยาวนานกว่า ๑๑๗ ปี ซึ่งเป็นวังเดิมของพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (วังนางเลิ้ง) บนถนน พิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ซึ่งเกิดจากการปรับปรุงพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย ๕ วิทยาเขต คือ วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และวิทยาพระนครเหนือตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.๒๕๔๘ สังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลด้านการปฏิรูปการศึกษาและนำพาประเทศสู้การแข่งขันกับนานาประเทศ เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวม เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนโดยขยายฐานการให้บริการอุดมศึกษาให้มากขึ้น มุ่งให้การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษามีความคล่องตัว

คณะบริหารธุรกิจ มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีเป้าหมายสูงสุดในการ“มุ่งมั่นสร้างบัณฑิตเป็นนักธุรกิจชั้นนำ แห่งโลกธุรกิจในระดับสากล”ภายใต้วิสัยทัศน์ “ผลิตบัณฑิตมืออาชีพที่มีคุณภาพและคุณธรรม บนพื้นฐานเทคโนโลยีแห่งโลกธุรกิจ” และ ปรัชญา“สร้างบัณฑิตสู่คุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี นำบริหารธุรกิจสู่โลกสากล” คณะบริหารธุรกิจได้ยึดมั่นในวิสัยทัศน์และปรัชญา โดยมุ่งมั่นในภารกิจสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านทักษะวิชาชีพ พร้อมก้าวไปสู่ความสำเร็จในโลกของอาชีพได้อย่างสมภาคภูมิ เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ความสามารถที่ทันสมัย มีพลังและความเข้มแข็งที่พร้อมสำหรับการแข่งขันทุกสถานการณ์

ปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีการจัดการเรียนการสอน ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ในอนาคตทางคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้เตรียมหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาสากล (ภายในปี ๒๕๖๕) รวมถึงการสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการทั้งในและต่างประเทศทุกสาขาวิชา มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ พัฒนาอาจารย์และนักศึกษาโดยความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพกับสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาคุณวุฒิอาจารย์ในสัดส่วนปริญญาตรี : โท : เอก     สร้างศูนย์องค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาวงการวิชาชีพ สัดส่วนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างองค์ความรู้   ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถ ๒๕๕๘