ข่าวกิจกรรม

กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปี 2566 ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 งานบริการวิชาการแก่สังคม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับธนาคารออมสิน จัดการนำเสนอผลสัมฤทธิ์กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปี 2566 ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนาวลี ไม้สัก คณบดีคณะบริหารธุรกิจ เป็นประธาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา พยุงวงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย กล่าวรายงาน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ก้าวสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษา โดยเน้นการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน ที่เป็นการช่วยชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป ในการนี้ได้มีการได้มีการจัดบูธนำเสนอผลิตภัณฑ์ การเดินแฟชั่นโชว์และการนำเสนอผลงานของกลุ่มนักศึกษาที่เป็นผู้ดำเนินโครงการในการพัฒนาชุมชนทั้งหมด 5 ทีม โดยได้รับเกียรติจาก หม่อมหลวงภาสกร อาภากร หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมแบรนด์ประเทศด้านการค้า คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์การตลาดและพัฒนาลูกค้าองค์กรชุมชน สิบเอกหนุ่มทุ่งโพนทอง ทุ่งโพนทองผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 2 หน่วยพัฒนาสังคมเเละชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข หัวหน้าโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี อาจารย์วิรัลพัชร อสัมภินพงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด อาจารย์ศิริกาจญณ์ ติรสุวรรณวาสี หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ และอาจารย์ ดร.กวิน มากธนะรุ่ง : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการตัดสินในวันนี้ ซึ่งผลการนำเสนอผลงานการพัฒนาดีเด่น (The Best) ได้แก่ -รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ กลุ่มโครงการ“ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : ตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Community-Based Cultural:Market Canal Charoenkrung 103 to Creative Economy) ชื่อทีม “ริโต โรตี” -รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ กลุ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “วังหนับ”เพื่อการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของกลุ่มชุมชน “วังหนับอุทิศ” เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ชื่อทีม Perfect Bus. Line ยกกำลัง 2 -รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ กลุ่มโครงการ“พัฒนาองค์ความรู้ เสริมสร้างศักยภาพ สร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์” “Enlarge Knowledge , Strengthen Potential , Create Product’s Value” ชื่อทีม “หวานไม่หวาน แต่น้ำปลาหวานนะจ้ะ” -รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ กลุ่มโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุนหมู่บ้านชุมชนสามแยกคลองหลอแหล “Sam Yaek Khlong Lolae Community Village Fund ” ชื่อทีม “ตระกูลทอง” และ กลุ่มโครงการ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยโบราณ กลุ่มแม่บ้านขนมไทยลำหินใต้ ชื่อทีม: “หวาน ณ พระนคร” ณ ชั้น 1 อาคารพร้อมมงคล คณะบริหารธุรกิจ ศูนย์พณิชยการพระนคร ภาพข่าว : งานสื่อสารองค์กร คณะบริหารธุรกิจ